คืนความหวังปลอบประโลมหัวใจ อรุณีและบังเซ

ครอบครัวผู้ประสบภัย ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ

เมื่อภัยพิบัติน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็ก ครอบครัว และชุมชน มูลนิธิแห่งประเทศไทย จึงก้าวเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ทุกคนกลับมามีชีวิตปกติอีกครั้ง ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

“เราช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างลำบาก หรือว่าขาดโอกาส ในการที่เราจะสามารถช่วยเหลือให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น” คุณรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตฯ

ประชาชนชาวตำบลปากบาง กว่า 500 ครอบครัว เข้าแถวลงทะเบียนเข้ารับชุดเครื่องนอน

ครอบครัวของ คุณอรุณีและบังเซ คือ หนึ่งในครอบครัวที่ได้รับความช่วยเหลือ พวกเขาเคยประสบปัญหาที่อยู่อาศัยและต้องเผชิญน้ำท่วมใหญ่ และทุกเหตุการณ์พวกเขาสามารถผ่านพ้นมาได้ เพราะความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย

แต่ก่อนเราร่อนเร่ไม่มีที่อยู่ ก็ได้ความเมตตาจากเจ้าของบ้านยกที่ให้ ทางหน่วยงานต่างๆ ก็เข้ามาช่วยเหลือสร้างบ้านให้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ เขาก็ไม่ได้ทิ้งคนจน ทางอบต. เขาก็ช่วย ผู้ใหญ่บ้านก็ช่วย เราก็ไม่มีอะไรจะตอบแทนก็ขอบคุณมากๆ” คุณอรุณี เล่าด้วยด้วยความซาบซึ้ง

ครั้งเมื่อตอนน้ำท่วม เป็นช่วงเวลาที่คุณอรุณีไปเยี่ยมแม่ที่บ้าน บังเซ เล่า “ตอนน้ำท่วมอยู่คนเดียว โชคดีมีข้าวสาร มีมาม่า ทางอบต. ก็มีโรงทานวางเป็นจุดต่างๆ ทางมูลนิธิศุภนิมิตฯ ก็มามอบข้าวสารอาหารแห้งให้ วันนี้ก็มามอบผ้าห่มให้อีก ขอบคุณมากๆ ที่มาช่วยเหลือ เราก็ไม่รู้จะขอบคุณอะไร ขอให้เจริญรุ่งเรือง”

บ้านหลังเดิมของ คุณอรุณีและบังเซ ก่อนได้รับความเมตตาจากเจ้าของที่ดินและหน่วยงานต่างๆ เข้าช่วยเหลือ

“มูลนิธิศุภนิมิตฯ เขาไม่ทิ้งคนจน ทางอบต. เขาก็ช่วย ผู้ใหญ่บ้านก็ช่วย เราก็ไม่มีอะไรจะตอบแทนก็ขอบคุณมากๆ” คุณอรุณี เล่าด้วยด้วยความซาบซึ้ง

“วันนี้ก็มามอบผ้าห่มให้ขอบคุณมากๆ ที่มาช่วยเหลือ เราก็ไม่รู้จะขอบคุณอะไร ขอให้เจริญรุ่งเรือง” บังเซ

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังมุ่งเน้นการช่วยเหลือที่ยั่งยืนสู่เด็กๆ และชุมชน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการสนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดและน้ำใช้ในโรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านป่ากอ ตำบลเทพา โรงเรียนบ้านบ่อเตย และโรงเรียนบ้านตูหยง ตำบลปากบาง ให้เด็กๆ และชุมชนโดยรอบเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างยั่งยืน รวมถึงได้ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ประสบภัยรวม 15 แห่ง ซึ่งครอบคลุมโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลปากบาง สะกอม และเทพา ความช่วยเหลือนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กๆ สามารถกลับมาเรียนได้อย่างเต็มที่ และชุมชนสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของภัยธรรมชาติ

คุณรสลิน โกแวร์ พร้อมด้วยเด็กๆ ถ่ายภาพกับระบบเครื่องกรองน้ำสะอาดตัวใหม่ของโรงเรียน

สำรวจห้องเรียนของเด็กๆ ที่ไวท์บอร์ดเสียหายจากน้ำท่วมครั้งใหญ่

เพราะทุกความช่วยเหลือในโครงการนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนของทุกท่านผ่าน ‘กองทุนบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน’ โดยกองทุนนี้จะไม่เพียงจัดไว้สำหรับช่วยเหลือเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีไว้สำหรับช่วยเหลือชุมชนในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขึ้นในอนาคต การสนับสนุนของท่านจะช่วยให้เด็กได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็น ไม่ว่าจะทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ ทุกความช่วยเหลือล้วนเป็นสะพานเชื่อมหัวใจของการ ‘รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง’ ให้เป็นจริง เพราะเราเชื่อว่าไม่มีภัยพิบัติใดจะเอาชนะพลังแห่งความรักและความเมตตาที่มีให้กันได้ ขอบคุณทุกน้ำใจที่ร่วมสร้างความหวังและรอยยิ้มให้กลับคืนมาอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เด็กไร้รัฐ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

นวัตกรรมความร่วมมือหลายภาคส่วนเพื่อขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยวัณโรคและผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีในภาคธุรกิจแปรรูปสัตว์น้ำและภาคบริการ

ตรวจชีพจรวัณโรคและประชากร
อ่านต่อ »
'มา ติน มาร์' อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ มูลนิธิศุภนิมิตฯ จ.ระนอง เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ

29 ปีกับบทบาท ‘อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ - อสต.’ ฮีโร่ผู้เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคใน จ.ระนอง ของ ‘มา ติน มาร์’
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า