ภัยพิบัติ

หนึ่งปัจจัยสร้างความเหลื่อมล้ำ และข้อท้าทายของเด็กเปราะบางยากไร้และครอบครัว

เมื่อเกิดภัยพิบัติ เด็กและชุมชนยากไร้จะได้รับผลกระทบมากกว่าที่อื่น ไม่เพียงแค่ความเสียหายของทรัพย์สิน แต่ที่ดินทำกิน อาชีพ ระบบการศึกษา และสาธารณูปโภคจะถูกทำลายลงด้วย โดยอาจใช้เวลานานกว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติได้

Climate Change: ยิ่งผันผวนเท่าไร ผลกระทบยิ่งใหญ่ขึ้นเท่านั้น

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ภัยพิบัติในยุคสมัยใหม่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นนั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก (Climate Change) สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่อากาศที่ร้อนขึ้น หรือฤดูหนาวที่สั้นลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดความผันผวนทางการเกษตร การเกิดโรคอุบัติใหม่ ซึ่งทำให้เด็กเปราะบางยากไร้และครอบครัวมีรายได้และความปลอดภัยในชีวิตลดลงไปด้วย 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุดเป็นลำดับที่ 9 (Greenpeace, 2023)

หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ลดความรุนแรงได้

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยมีพันธกิจในการช่วยลดความความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ โดยปลูกฝังให้เด็กและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และเตรียมพร้อมควบคุมความเสียหายหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไป เพราะเมื่อชาวบ้านสามารถตั้งรับได้ จะสามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

ยามสงบ

มูลนิธิฯ ให้ความรู้กับเด็กและชุมชนในการเตรียมในกรณีเกิดภัยพิบัติ

โครงการโรงเรียนปลอดภัยในอาเซียน – อบรมสำหรับเด็กนักเรียนให้ตระหนักถึงภัยพิบัติ และวิธีการเอาเตรียมตัวเมื่อถึงเวลาจริง 

คณะกรรมการภัยพิบัติในสถานศึกษา (School Disaster Management Committee) – จัดการอบรมสำหรับคนในชุมชน ให้ชาวบ้านรู้วิธีการเตรียมตัว และร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นในการจัดเตรียมสถานที่และความช่วยเหลือ

ยามเกิดภัยพิบัติ

เด็กๆ และชาวบ้าน พร้อมหน่วยงานท้องถิ่นมีแผนรองรับสำหรับการรับมือ เช่น อพยพ ย้ายสิ่งของ และปฏิบัติตามที่วางแผนไว้

ยามพายุพัดผ่าน

มูลนิธิฯ เข้าตรวจสอบความเสียหาย พร้อมประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความช่วยเหลือ ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดภัยพิบัติ

ผลงานของเรา

ส่งเสริมความรู้ เตรียมความพร้อมเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ให้มีความปลอดภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติ มีเด็กนักเรียนเข้าร่วมกว่า 10,000 คน และ ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา เข้าร่วมรวม 1,000 คน
ได้รับการรับรองให้เป็นหลักสูตรมาตรฐานของประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaisafeschool.com โดยมีผู้ลงทะเบียนและได้ผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น 268,280 คน แยกเป็นบุกคลากรสังกัด สพฐ. จำนวน 250,217 คน และผู้ลงทะเบียนบุคคลทั่วไป 17,763 คน

เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการความปลอดภัย (https://www.obec-hazardmap.com/)

ผ่านคณะกรรมการภัยพิบัติในสถานศึกษา (School Disaster Management Committee) ตามกรอบดำเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาของอาเซียน

อุปการะเด็กวันนี้ พัฒนาชีวิตเขาให้ดีขึ้นตลอดไป

ด้วยการดูแลและการศึกษาที่เหมาะสม เด็กๆ จะเติบโตเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงชุมชน ปกป้องตนเองจากความรุนแรง และมีประสบการณ์ชีวิตที่อยู่ดีมีสุข

เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเรา

การยุติความรุนแรงต่อเด็ก

เราจะสู้ต่อไป จนกว่าเด็กทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครอง

การพัฒนาเยาวชน

เสริมสร้างศักยภาพให้กับเยาวชนเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

ส่งเสริมอาชีพครอบครัวเปราะบาง

อนาคตของเด็กไม่ควรดับวูบลงเพราะความยากจน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า