‘ศูนย์สุขภาพชุมชนมะดีนะฮ์ จ.ตาก’ ต้นแบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้า
แนวทางจัดการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการมีส่วนร่วมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
ในประเทศไทย ผู้ย้ายถิ่นที่เป็นผู้หญิงและเด็กถือเป็นกลุ่มเสียเปรียบและเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กข้ามชาติที่ไม่มีสูติบัตรถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดเพราะไม่มีอัตลักษณ์ทางกฎหมาย ทำให้พวกเขาขาดสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การศึกษา และบริการสาธารณะอื่นๆ ของรัฐ ในอีกด้านหนึ่งงานของแรงงานข้ามชาติผู้หญิงถูกประเมินค่าต่ำเกินจริง ทำให้ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าแรงงานชาย นอกจากนี้การขาดความเป็นมาตรฐานของการจ้างงานผู้หญิงในภาคส่วนที่สำคัญหลักๆ หลายภาคส่วน ส่งผลให้ผู้หญิงไม่ได้รับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน เช่นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ชั่วโมงการทำงานปกติ ค่าทำงานล่วงเวลาและสิทธิประกันสังคม
ในฐานะที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นเด็กเป็นสำคัญ เราตระหนักถึงความสำคัญและความเปราะบางของเด็กข้ามชาติ อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกับเด็กข้ามชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพนั้นมีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนร่วมในหลายระดับแตกต่างกัน เช่น ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ซึ่งได้ดำเนินงานโครงการโดยบูรณาการงานร่วมกับหลายภาคส่วนโปรแกรมสำหรับแรงงานผู้หญิงและเด็กข้ามชาติ เช่น งานด้านสุขภาพ งานที่มีคุณค่า การคุ้มครองทางสังคมและการบริการด้านการศึกษาในพื้นที่ดำเนินงานโครงการ และยังได้สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้มเข็งให้กับกระบวนการส่งต่อผู้เสียหายจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-Based Violence) ตลอดจนการละเมิดสิทธิแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการทำงานกับผู้ปกครองเด็กข้ามชาติในเรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการพัฒนาเด็กด้วย
เพื่อระดมให้มีแนวทางการทำงานแบบผสมหลายภาคโปรแกรมและบูรณาการเข้ากับระบบบริการ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริจาค พันธมิตรด้านเทคนิควิชาการ รัฐบาล และองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการทำงานนี้เกิดความยั่งยืน
ในปีที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านเทคนิคจาก กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ สหภาพยุโรป (EU) เพื่อดำเนินงานคุ้มครองทางสังคมและการศึกษาสำหรับแรงงานข้ามชาติและบุตรหลานของพวกเขา มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับภาคประชาสังคมโดยเข้าร่วมเป็นสมาชิก เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย (CRC) ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมกว่า 40 องค์กร ทำงานเรื่องสิทธิเด็ก โดยมีคณะทำงานกลุ่มย่อย (sub-working group) ที่มุ่งเน้นด้นการศึกษา สุขภาพ ความเท่าเทียมทางเพศและความครอบคลุมทางสังคม (GESI)
ในปี 2565
โปรแกรมผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐาน
ได้ดำเนินงานเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
ในปี 2565 โปรแกรมผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐานได้ดำเนินงานเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 534 คน
สามารถดูผลงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ได้ทำงานร่วมกับผู้ร่วมพันธกิจและผู้บริจาค ตามลิงก์ดังกล่าวด้านล่างนี้
ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นฐาน ให้ได้รับการคุ้มครองและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางจัดการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการมีส่วนร่วมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพฯ
มูลนิธิศุภนิมิตฯ พัฒนาเครือข่ายการทำงาน จ.สระแก้ว ยกระดับการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
เราจะสู้ต่อไป จนกว่าเด็กทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
เสริมสร้างศักยภาพให้กับเยาวชนเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
อนาคตของเด็กไม่ควรดับวูบลงเพราะความยากจน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด