พลังเยาวชนป่าเด็ง ขับเคลื่อนชุมชนสู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

จากปัญหาขยะสู่การเปลี่ยนแปลง : เรื่องราวของการร่วมมือระหว่างเยาวชน ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า

ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามของ ชุมชนป่าเด็ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ใกล้เทือกเขาตะนาวศรี ชายแดนไทย-เมียนมา ชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวปกาเกอะญอ ซึ่งคิดเป็น 80% ของประชากร แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรื้อรังจากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม ขยะที่ถูกทิ้งอย่างไร้ระเบียบสร้างมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และสภาพแวดล้อม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของคนในชุมชนและสถานศึกษาในพื้นที่

จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มผู้นำเยาวชนโรงเรียนป่าเด็งวิทยา ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้ลุกขึ้นมาตั้งคำถามสำคัญว่า “เราจะจัดการกับปัญหาขยะในชุมชนได้อย่างไร” คำถามนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนความตระหนักในปัญหา หากยังเป็นจุดเริ่มต้นของ แผนงานแก้ไขปัญหาการลดขยะในชุมชน ลดการใช้ถุงพลาสติกในสถานศึกษา และการลดมลพิษในอากาศ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเด็ง มูลนิธิศุภนิมิตฯ โรงเรียน และชุมชน โดยมีเยาวชนเป็นหัวใจสำคัญ

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

น้องโอ (กาญารัตน์) เด็กสาววัย 18 ปี เล่าถึงปัญหาขยะในชุมชนว่า “กองขยะในชุมชนมีทั้งกลิ่นเหม็น น้ำเสีย และยังดึงดูดสัตว์อย่างสุนัขและช้างป่ามาคุ้ยหาอาหาร โดยเฉพาะในฤดูฝน น้ำเน่าจากกองขยะซึมลงใต้ดิน ปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพวกเรา” 

เสียงสะท้อนจากเยาวชนเช่นน้องโอ เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มผู้นำเยาวชนริเริ่มโครงการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในโรงเรียน พร้อมทั้งพัฒนาระบบการคัดแยกขยะ นายพิทักษ์ อีกหนึ่งผู้นำเยาวชนวัย 18 ปี อธิบายว่า “เรารณรงค์ให้เพื่อน ๆ นำอุปกรณ์บรรจุอาหารมาใช้แทนถุงพลาสติก และแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง ขยะพลาสติกที่รวบรวมได้จะถูกนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ ส่วนขยะที่ย่อยสลายได้จะถูกจัดการอย่างเหมาะสม”

ความร่วมมือของชุมชนและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม 

โครงการของกลุ่มเยาวชนไม่เพียงสร้างความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน แต่ยังจุดประกายให้ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเด็งได้สนับสนุนการสร้าง เตาเผาขยะลดมลพิษ แบบพิเศษที่ช่วยลดคาร์บอนมอนอกไซด์ และเพิ่มการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ อีกทั้งยังพัฒนาระบบ ก๊าซชีวภาพ โดยนำขยะเปียกมาหมักในบ่อก๊าซชีวภาพ เพื่อนำก๊าซที่ได้มาใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน 

ทางด้าน นายโกศล แสงทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเด็ง กล่าวเสริมว่า “การใช้ก๊าซชีวภาพช่วยลดการใช้แก๊ส LPG ในครัวเรือน และยังลดการปล่อยก๊าซมีเทนในอากาศ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดภาวะโลกร้อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน”

พลังของเยาวชนที่ขับเคลื่อนชุมชน

ความสำเร็จของโครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของเยาวชนที่ไม่เพียงสร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน แต่ยังเชื่อมโยงสู่การพัฒนาชุมชนโดยรวม การส่งเสริมทักษะชีวิต ทักษะการเป็นผู้นำ และจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม กลายเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ชุมชนป่าเด็งในวันนี้ไม่เพียงมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังมีเยาวชนที่พร้อมเติบโตเป็นผู้นำในวันข้างหน้า พร้อมด้วยคุณค่าที่สำคัญที่สุด คือความเชื่อมั่นว่า “การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก กำจัดมาลาเรีย ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เด็กไร้รัฐ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

ศุภนิมิตฯ และเยาวชน เฮลั่น กวาด 4 รางวัลในงาน CCE Children & Youth Forum ปี 67

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และผู้นำเยาวชนตัวแทนนักเรียนของโครงการฯ เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
อ่านต่อ »

Keep Bottle Exchange Money โครงการเก็บขวดเปลี่ยนเป็นเงิน 

รางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567 “รางวัลประเภทเหรียญเงิน”
อ่านต่อ »

ลดการตีตรา ขจัดอุปสรรค สร้างความเท่าเทียม

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จัดประชุมถอดบทเรียนการขจัดอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและเพศภาวะเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านวัณโรคและเอชไอวีอย่างเท่าเทียมสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า