สายด่วน 1422’ ข้อมูลสุขภาพ ตอบโจทย์แรงงานข้ามชาติ

มูลนิธิศุภนิมิติฯ และกรมควบคุมโรค พัฒนาคู่มือ ถาม-ตอบ ผู้ให้บริการ ‘สายด่วน 1422’
มูลนิธิศุภนิมิติฯ และกรมควบคุมโรค พัฒนาคู่มือ ถาม-ตอบ ผู้ให้บริการ ‘สายด่วน 1422’

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติมากถึง 2,743,673 คน คิดเป็นร้อยละ 6.92 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในไทย (กระทรวงแรงงาน) แต่ในความเป็นจริงแล้วจำนวนแรงงานข้ามชาติ รวมถึงเด็ก และผู้ติดตามเข้ามาอาศัยในประเทศไทยด้วย รวมจำนวนแล้วมากถึง 5 ล้านคน แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา นับเป็นบทเรียนที่ทำให้เราทุกคนตระหนักว่า แรงงานข้ามชาติ ผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำงานทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขตามสิทธิที่พวกเขาพึงได้รับ ในห้วงเวลานั้นโดยการสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลก และการทำงานร่วมกันระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย รวมถึงเครือข่ายทั้งภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ ได้ร่วมกันพัฒนาศักภาพ “อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างชาติ” เพิ่มความรู้และทักษะในการให้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข การสื่อสารความรู้สุขภาพ เพื่อทำหน้าที่ให้บริการ ‘สายด่วน 1422’ สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และ/หรือแนะนำแนวทางในการป้องกันและดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วย สำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติทั้ง ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม ในประเทศไทย

จวบจนปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้คลี่คลายเข้าสู่สถานการณ์ปกติ แต่ยังคงมีโรคสำคัญต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ วัณโรค โรคไข้หวัดใหญ่ โรคฝีดาษลิง ฯลฯ เหล่านี้การเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องของแรงงานข้ามชาติยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘สายด่วนสุขภาพ 1422’ ที่รองรับเพิ่มทั้ง 4 ภาษา จึงยังเป็นที่พึ่งสำคัญในการเข้าถึงและช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

เพื่อสนับสนุนให้การให้บริการ ‘สายด่วนสุขภาพ 1422’ สำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัด การประชุมพัฒนาคู่มือ ถาม-ตอบ สายด่วน กรมควบคุมโรค 4 สัญชาติ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการขึ้นบริการสายด่วน 1422 ของสายแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนส่งเสริมเพิ่มเติมความรู้โรคอุบัติใหม่ หรือสถานการณ์การเฝ้าระวังให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานข้ามชาติ (อสต.)

นายเกรียงกมล เหมือนกรุด ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า “ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ผ่านมา หากไม่มีสายด่วน 1422 ไม่ว่าจะเป็นสายภาษาไทย หรือสายแรงงานข้ามชาติ จะทำให้ภาพลักษณ์และการปฎิบัติงานของกรมควบคุมโรคเป็นไปด้วยความยากลำบากเป็นอย่างมาก ต้องขอขอบคุณพวกท่านมากๆ ที่เป็นด่านหน้าในการให้ความรู้กับผู้โทรเข้ามาใช้บริการ หากไม่มีพวกท่านทางกรมฯ คงจะปฎิบัติงานยากลำบาก เพราะความแตกต่างในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรม ของแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน”

การประชุมเพื่อพัฒนาคู่มือฯ ในครั้งนี้ได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจจะเกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ โรคระบาดที่มาจากยุงลาย โรคหูดับ โรคฝีดาษลิง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดนก เพื่อจัดเตรียมข้อมูลและแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันและการรักษา

คุณชัช ไชยโส จากสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค เน้นย้ำเกี่ยวกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรควัณโรค ถึงการรักษาและการติดตาม “แนะนำให้ผู้ป่วยทำการวางแผนในการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หากหลุดช่วงนี้ไปจะส่งผลให้เกิดสภาวะดื้อยาส่งผลให้การรักษามีความยากลำบากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ให้ผู้ป่วยให้เบอร์และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้กับทางโรงพยาบาลที่รักษา เพื่อง่ายต่อการติดตามผลการรักษา สำหรับโรคติดต่อระหว่างประเทศ ที่ไม่ได้พบเจอในประเทศไทยและหากต้องการรับวัคซีนในโรคบางชนิดให้สอบถามกับทางประเทศปลายทางเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคไข้เหลือง ที่มีบริการวัคซีนเพียงบ้างโรคพยาบาลเท่านั้น”

ในช่วงท้ายของการประชุม คุณอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ได้เสนอแนะในประเด็นสิทธิแรงงานพร้อมกับสิทธิสุขภาพที่แรงงานพึงจะได้รับหลังการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงสิทธิประโยชน์ในเรื่องประเด็นสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ เช่น สิทธิการเบิกค่าคลอดบุตร สิทธิเลี้ยงดู ข้อแตกต่างระหว่างประกันสุขภาพและประกันสังคมม เพื่อเป็นข้อมูลให้ อสต. แนะนำสิทธิที่ประชากรข้ามชาติพึงมี

ปัจจุบันนี้ สายด่วน 1422 เป็นสายด่วนที่คอยบริการข้อมูลด้านสุขภาพมากถึง 6 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. เพื่อคอยบริการถาม – ตอบ เป็นเพื่อนคู่คิด ดูแลสุขภาพ

โรคภัย ไข้เจ็บไม่เลือกชนชาติและภาษา รัฐบาลและนายจ้างก็ไม่ควรมองข้ามสิทธิทางสุขภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มแรงงานผู้เปราะบางเหล่านี้เช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน ผู้หญิงและเด็ก พัฒนาชุมชน ฟังเสียงเด็กและเยาวชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า