พัฒนาทักษะอาชีพให้เด็ก ‘การทำกล้วยฉาบ’

“โครงการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การแปรรูปกล้วยฉาบ)” ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้เด็กยากไร้ในพื้นที่ห่างไกล จ.น่าน
มูลนิธิศุภนิมิตฯ จัด “โครงการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การแปรรูปกล้วยฉาบ)” ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้เด็กยากไร้ในพื้นที่ห่างไกล จ.น่าน

เพราะความยากจนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้เด็กจำนวนมากขาดโอกาสทางการศึกษา หลายคนไม่มีค่าครองชีพ ไม่มีค่าอาหาร ค่าเดินทาง และครอบครัวไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาได้ จากข้อมูลของ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ แสดงให้เห็นว่า “เด็กและเยาวชนกว่า 250 ล้านคนทั่วโลกไม่ได้ไปโรงเรียน” ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส.) ที่ระบุว่า “ปีการศึกษา 2566 ประเทศไทยมีจำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษราว 1.8 ล้านคน แม้จะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ความยากจนในระดับรุนแรงยังเป็นอุปสรรคทำให้เด็กบางคนไม่สามารถมาเรียนได้”

เพื่อลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กเปราะบางยากไร้ ในพื้นที่ยากลำบากและห่างไกล มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับ โรงเรียนในพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาฯ จ.น่าน จัด “โครงการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การแปรรูปกล้วยฉาบ)” ให้กับน้องๆ นักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อเสริมต้นทุนให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับประกอบอาชีพ สร้างรายได้เสริมระหว่างเรียน และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตกล้วยในชุมชนอีกด้วย

น้องเซฟ อายุ 12 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าเรื่องกล้วยๆ ในชุมชนให้ฟังว่า “หมู่บ้านของผมมีกล้วยเยอะครับ หาได้ง่ายและราคาถูก บางช่วงชาวบ้านกินขายไม่ทัน ปล่อยทิ้งให้เน่าเสียหายน่าเสียดายครับ”

“การทำกล้วยฉาบไม่ยากเลยครับ เริ่มจากเราต้องเลือกกล้วยที่แก่พอดีไม่สุกเกินไป นำมาปลอกเปลือกแช่น้ำเกลือ หลังจากนั้นเราจะฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปทอดให้กรอบเหลืองพอดี ทิ้งไว้ให้เย็นและปรุงรสครับ ซึ่งปัจจุบัน กล้วยฉาบของโรงเรียนเรามี 5 รสชาติ ทั้งรสวิงซ์แซ่บ รสหวาน รสเค็ม รสบาบีคิว และรสปาปริก้า ครับน้องเชฟ เล่ากระบวนการทำกล้วยฉาบอย่างเชี่ยวชาญ

ส่วนทางด้าน นายสุรศักดิ์ ทิพย์โสธร ครูรับผิดชอบโครงการ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการฯ นี้ เราตั้งใจสนับสนุนให้เด็กได้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนได้มีทักษะ มีรายได้เสริม ปัจจุบันได้รับการตอบรับที่ดีมากครับ ทั้งจากนักเรียนที่ซื้อของผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน และชาวบ้านจากร้านค้าในชุมชนที่เรานำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปวางจำหน่าย ซึ่งรายได้หลังจากหักต้นทุนแล้ว เราจะมีการจัดสรรให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเงินเก็บออมให้นักเรียนไว้ใช้เมื่อจำเป็นครับ”

การดำเนิน “โครงการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (การแปรรูปกล้วยฉาบ)” เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการอุปการะเด็ก เพื่อเปลี่ยนแปลงให้เด็กยากไร้และครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนอกจากเด็กที่ได้รับการอุปการะจะได้รับความช่วยเหลือและมีโอกาสในการพัฒนาทักษะอาชีพแล้ว เด็กคนอื่นๆ ในโรงเรียนเดียวกัน ก็ได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตไปพร้อมกัน รวมไปถึงครอบครัวและชุมชน ก็ยังมีรายได้จากการจำหน่ายกล้วยเพื่อให้โครงการฯ ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ

“ขอบคุณครับที่ให้ผมและเพื่อนๆ ได้รับโอกาสฝึกทักษะการประกอบอาชีพ นอกจากผมจะได้ทักษะการทำกล้วยฉาบแล้ว ผมยังมีรายได้เสริมระหว่างเรียน ซึ่งผมสามารถนำความรู้นี้ไปพัฒนาเป็นอาชีพ สร้างรายได้ดูแลตัวเองและครอบครัวได้ต่อไปครับ” น้องเซฟ กล่าวด้วยรอยยิ้ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก กำจัดมาลาเรีย ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เด็กไร้รัฐ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

'ศูนย์สุขภาพชุมชนมะดีนะฮ์ จ.ตาก’ ต้นแบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้า

‘ศูนย์สุขภาพชุมชนมะดีนะฮ์ จ.ตาก’ ต้นแบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้า

แนวทางจัดการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการมีส่วนร่วมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
อ่านต่อ »
'มา ติน มาร์' อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ มูลนิธิศุภนิมิตฯ จ.ระนอง เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ

29 ปีกับบทบาท ‘อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ - อสต.’ ฮีโร่ผู้เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคใน จ.ระนอง ของ ‘มา ติน มาร์’
อ่านต่อ »

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ

มูลนิธิศุภนิมิตฯ พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดสระแก้วดำเนิน โครงการนำร่องเด็กไร้สัญชาติให้เข้าถึงสถานะทางกฎหมายและระบบบริการ
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า