เพราะรอยยิ้มและสุขภาพที่ดีเป็นของขวัญล้ำค่า

มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย มอบ “อาคาร Pfizer Frist-aid Center ศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน” จ.พังงา แห่งที่ 10 ในโครงการจัดตั้งศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน Pfizer

เมื่อเดือนตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิศุภนิมิตฯ เดินหน้ามอบ “อาคารศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน Pfizer Frist—aid Center” เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเด็กและชุมชนในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเด็ก โดยศูนย์พยาบาลแห่งนี้ถือเป็นแห่งที่ 10 ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ซึ่งเป้าหมายหลักของการดำเนินโครงการคือการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ และการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงง่ายให้แก่เด็กและครอบครัว

ภายในวันส่งมอบศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน ได้รับเกียรติจาก นายศุภฤกษ์ เกตุสุรินทร์ ปลัดอำเภอตะกั่วป่า เป็นประธานในพิธีฯ  Mr.Mark Kuo ประธานกรรการบริหาร มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย นายศักดิ์ชาย แซ่จิ๋ว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคมนียเขต นางสาวนิจิตรา วรรณจันทร์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาฯ จ.พังงา มูลนิธิศุภนิมิตฯ รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติจากองค์กรต่างๆ ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมทั้งแสดงความยินดีในความสำเร็จที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์  โดยผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ได้รายงานการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมทั้งเล่าถึงความจำเป็นของศูนย์พยาบาลในการช่วยเหลือเด็กๆ และชุมชนให้มีแหล่งพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ผู้จัดการโครงการพัฒนาฯ จ.พังงา ได้กล่าวถึงการทำงานที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ดำเนินการเพื่อให้ความรู้และการดูแลด้านสุขภาพแก่เด็กและครอบครัวในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง

นายศุภฤกษ์ เกตุสุรินทร์ ปลัดอำเภอตะกั่วป่า กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีส่งมอบศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชน “การสร้างศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชนโรงเรียนวัดคมนียเขต นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ทางคณะผู้บริหาร คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ทุกคนในชุมชนพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพอย่างรวดเร็ว เพราะมีศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชนในเบื้องต้น ทั้งนี้เราไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนด้านสุขภาพจะเกิดขึ้นกับคนในโรงเรียนและชุมชนเมื่อใด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีสถานที่รองรับไว้ใช้สำหรับติดต่อทั้งในยามปกติ และในยามภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการดูแลด้านสุขอนามัย เผยแพร่ความรู้ ฝึกฝนการปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนชาวชุมชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง”

โดยในพิธีเปิดงานได้เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความสุข เมื่อเหล่านักเรียนต่างร่วมแสดงความสามารถผ่านศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน สร้างความอบอุ่นและประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงาน อาทิ การแสดงรำมโนราห์และเซิ้งโปงลาง ซึ่งเป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้านที่สะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่นของภาคใต้และภาคอีสาน นอกจากการแสดงแล้ว ผู้เข้าร่วมยังมีโอกาสเยี่ยมชมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของโรงเรียน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงแต่สร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าสำหรับเด็กๆ แต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่ยั่งยืนและช่วยสร้างทักษะการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้แก่เยาวชน

หนึ่งในกิจกรรมสำคัญในโรงเรียน คือการฝึกสอนว่ายน้ำให้กับเด็กนักเรียน เนื่องจากอำเภอตะกั่วป่ามีความเสี่ยงสูงจากภัยพิบัติทางน้ำในช่วงฤดูฝน การที่เด็กๆ ได้รับการฝึกฝนทักษะว่ายน้ำทำให้พวกเขามีความปลอดภัยและสามารถป้องกันตนเองได้ในยามที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเรื่องการช่วยชีวิตเบื้องต้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนและชุมชนในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ โดยอำเภอตะกั่วป่า เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการอุปการะเด็กและส่งเสริมศักยภาพความรู้แก่เด็ก จำนวน 100 คน เมื่อปี 2018 หลังเหตุการณ์สึนามิครั้งใหญ่ในภาคใต้ของประเทศไทย

การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในชุมชนผ่านการพัฒนาด้านสุขภาพ ให้ชุมชนมีรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

โครงการทั้งหมดนี้ไม่ได้เพียงเป็นการยกระดับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กๆ แต่ยังปลูกฝังให้เด็กๆ เรียนรู้การเป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าในชุมชนของตนเอง ด้วยความตั้งใจที่จะเห็นเด็กๆ เติบโตอย่างมีคุณภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนา มูลนิธิศุภนิมิตฯ และมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างรอยยิ้มและสุขภาพที่ดีเป็นของขวัญที่ล้ำค่าสำหรับเด็กและชุมชน

“มูลนิธิศุภนิมิตฯ ขอขอบคุณ มูลนิธิไฟเซอร์แห่งประเทศไทย การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีความสุข จะช่วยให้เด็ก ครอบครัว และชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถือได้ว่าศูนย์ปฐมพยาบาลชุมชนแห่งนี้ จะไม่ได้เป็นเพียงห้องพยาบาลในโรงเรียน แต่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพในชุมชนอีกด้วย” นางสาวนิจิตรา วรรณจันทร์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาฯ จ.พังงา มูลนิธิศุภนิมิตฯ กล่าวขอบคุณ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน ผู้หญิงและเด็ก พัฒนาชุมชน ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

ยุติวัณโรคและเอดส์อย่างยั่งยืน ความท้าทายในทศวรรษนี้

มูลนิธิศุภนิมิตฯ มูลนิธิรักษ์ไทย และกรมควบคุมโรค ร่วมหารือการดำเนินงานโครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ (STAR4) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนโลก (Global Fund)
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า