รื้อปัญหาใต้พรม ยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จับมือภาคีเผชิญความท้าทายเพื่อแก้ไขปัญหาวัณโรคและเอดส์ในกลุ่มประชากรหลัก

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ตัวแทนภาคประชาสังคมผู้รับทุนหลักจากกองทุนโลก (Global Fund) ในการดำเนิน โครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ ประจำปี พ.ศ. 2567-2569 (Stop TB and AIDS through RRTTPR year 2024-2026) ด้วยชุดบริการ RRTTPR (Reach-Recruit-Test-Treat-Prevention-Retain เข้าถึง-นำพา/ส่งต่อ-ตรวจวินิจฉัย-รักษา-ป้องกัน-คงอยู่ในระบบ) เป็นกรอบการทำงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้สนับสนุนให้มีการบูรณาการโดยชุมชนเพื่อให้เกิดการบริการสุขภาพที่เป็นมิตรแก่กลุ่มประชากรหลัก สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้ระบบของชุมชน และขจัดอุปสรรคด้านสิทธิมนุษยชนและเพศสภาวะในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ด้วยการสร้างกลไกในการสนับสนุนชุดความรู้ที่สำคัญ เทคนิคการทำงาน และการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อให้กลุ่มประชากรหลัก เช่น กลุ่มประชากรข้ามชาติชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ พนักงานบริการและคู่ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านวัณโรคและเอชไอวีอย่างเท่าเทียม โดยภาคีเครือข่ายผู้รับทุนรองที่ดำเนินงาน ได้แก่ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธ์ (MAP) ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล (STM) องค์การอไลท์ (ALIGHT) ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโกล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (SMRU) มูลนิธิมูลนิธิดรีมลอปเม้นท์ (DLP) มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย (FAIR) และ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) ต่างเป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อนงานในครั้งนี้

ล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานและผลการปฎิบัติงานที่เป็นเลิศประจำไตรมาสที่ 1 เพื่อให้ผู้รับทุนหลัก ผู้รับทุนรอง และภาคีเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินงานได้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของโครงการฯ ตลอดจนการแบ่งปันบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงาน

การเข้าไปเริ่มทำความรู้จัก พูดคุย คือกลยุทธ์ขั้นต้นในการทลายกำแพง เช่นเดียวกับวิธีการของ คุณฮักเมือง (HURK MUNG) ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธ์ (MAP) จ.เชียงใหม่ ผู้ผันตัวจากแรงงานข้ามชาติมาเป็นผู้ประสานงานเพื่อช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติ แบ่งปันถึงความแนวทางในการดำเนินงานว่า “เจ้าหน้าที่ของเราส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติเหมือนกัน เราจึงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายแต่ก็มีความท้าทายพอสมควรเหมือนกัน เพราะแรงงานข้ามชาติพอมาอยู่ที่นี่ ถ้าเขาเปิดเผยว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือวัณโรค ก็กลัวว่านายจ้างและคนรอบข้างจะรู้ กลัวตกงาน เราจึงสร้างพื้นที่อุ่นใจสำหรับผู้ติดเชื้อให้มารวมกลุ่มกัน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน อีกด้านเราจะปรับทัศนคติในชุมชนทำกิจกรรมร่วมกัน ลดการตีตราทางสังคม สร้างชุมชนให้ตระหนักว่าเราสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อได้”

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ได้เริ่มมีการทำแผนที่ชุมชน เพื่อประเมินความต้องการของชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เข้าถึงประชากรข้ามชาติมากยิ่งขึ้นทั้งในสถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย สอดคล้องกับที่ คุณนาตยา เพชรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล จ.สงขลา สะท้อนถึงการทำงานว่า “ตอนนี้เราทำแผนที่ของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการจากเราว่าเขาเป็นใคร อยู่ที่ไหน พร้อมกับการทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ รวมถึงแกนนำแรงงานที่อยู่ในกลุ่มประชากรทั่วไปและกลุ่มที่เปิดเผยตัวตนกับเรา พร้อมกับการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งนี้เราต้องกลับมาดูที่แกนนำของเราด้วยว่าเขามีความรู้ความเข้าใจอย่างไรกับงานที่เราทำ เราก็ต้องเพิ่มเติมศักยภาพไห้กับคนของเราด้วยจึงมีการพูดคุย วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงกันเป็นระยะๆ”

รวมถึงการทำสื่อเพื่อให้องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเอชไอวีและวัณโรค โดยใช้ภาษาหลักของประชากรข้ามชาติ คุณฮักเมือง เล่าเสริมว่า “เรามีสื่อวิทยุชุมชน มีทั้งความบันเทิงและความรู้เกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ตรงนี้จึงเป็นอีกช่องทางในการรณรงค์และสื่อสารเกี่ยวกับเอชไอวีและวัณโรคไปยังกลุ่มประชากรข้ามชาติ”

โรคเอดส์และวัณโรค ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขมียุทธศาสตร์ในการยุติวัณโรค มุ่งเป้าลดอัตราป่วยวัณโรคเหลือ 10 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2578 จะเป็นจริงได้หรือไม่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน และองค์กรนานาชาติ ผนึกกำลังในการขจัดปัญหาที่ซุกไว้ใต้พรมมาอย่างเนิ่นนาน เพื่อสร้างการเข้าถึงกลุ่มประชากรข้ามชาติที่เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคพร้อมโน้มน้าวให้เข้ามารับการตรวจ เพื่อที่จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาหรือป้องกันโรคให้อยู่ในระบบต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานบรรเทาทุกข์ งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

โครงการหนองสลุด Zero Waste

รางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567 “รางวัลประเภทเหรียญเงิน”
อ่านต่อ »
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนายุทธศาสตร์และกรอบการดำเนินงานสุขภาพประชากรข้ามชาติในพื้นที่ กทม. โดย สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ

พัฒนาพื้นที่นำร่องส่งเสริมสุขภาพประชากรข้ามชาติ

สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพฯ
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า