WVFT-logo_dark_rgb

มูลนิธิศุภนิมิตฯ แม่สลอง ส่งเสริมการจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนพื้นที่สูง

ปรับปรุงน้ำประปาภูเขาและสร้างสถานที่เก็บกักน้ำชุมชน

“น้ำ” ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันคนไทยจะสามารถเข้าถึงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากข้อมูลสถิติ อาทิ สัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้น้ำดื่มจากแหล่งน้ำสะอาดที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 99.5 ในปี 2562 และสัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้ส้วมที่ถูกสุขอนามัยและไม่ได้ใช้ร่วมกับครัวเรือนอื่น อยู่ที่ร้อยละ 97.1 (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายชุมชนห่างไกลบนดอยสูง ที่ยังคงเผชิญกับความยากลำบากจากการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและการมีสุขาภิบาลที่ดี

ด้วยเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนดอยสูง การเดินทางเข้าถึงยากลำบาก ทำให้ชาวบ้านที่หมู่บ้านห้วยหก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ต้องพึ่งพาตนเองด้วยการหาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต แต่ด้วยระยะหลังจำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ความสมบูรณ์ของธรรมชาติลดลง ทำให้หลายปีที่ผ่านมา ชุมชนมักประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะในฤดูแล้ง

“นับตั้งแต่ ปี 2557 ที่เราเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านห้วยหก ตอนนั้นหมู่บ้านของเรามีประชากรแค่ประมาณ 300 คน มีครัวเรือนอาศัยเพียง 56 ครัวเรือน เราก็ได้เริ่มมีการทำระบบน้ำประปาภูเขาซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในขณะนั้น จนถึงตอนนี้ ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 700 กว่าคน ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 106 ครัวเรือน ทำให้ตาน้ำเดิมที่เรานำมาใช้ไม่เพียงพอต่อความจำเป็น โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้งและไหลน้อย เป็นความลำบากของทุกคนในชุมชน ซึ่งรวมไปถึงเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านห้วยหกด้วยครับ” นายกันตพงศ์ รุ่งนภาศิริวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยหก เล่าถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค

เพราะเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด และการมีสุขาภิบาลที่ดี มูลนิธิศุภนิมิตฯ โครงการพัฒนาฯ จ.เชียงราย ได้ร่วมกับผู้นำชุมชน โรงเรียน และชาวบ้านในชุมชน ดำเนิน โครงการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ปรับปรุงระบบน้ำ (ประปาภูเขา) เพื่อการสุขาภิบาลและสุขอนามัยให้กับชุมชน จัดหาแหล่งน้ำใหม่ที่มีปริมาณเพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้งาน รวมถึงการสร้างฝายทดน้ำพร้อมวางท่อลำเลียงน้ำระยะทางยาวกว่า 4 กิโลเมตรสู่หมู่บ้าน

นอกจากนี้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังได้ดำเนินงาน โครงการก่อสร้างสถานที่เก็บน้ำและปรับปรุงระบบน้ำในโรงเรียน ก่อสร้างที่เก็บน้ำขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร และปรับปรุงระบบน้ำในโรงเรียน แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคในโรงเรียน และเป็นจุดพักน้ำก่อนกระจายน้ำใช้ไปยังชุมชน

ในการดำเนินงานโครงการฯ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังได้มีการทำกิจกรรมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงน้ำสะอาดของชุมชน พร้อมส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกคนในชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมกันดูแลรักษา ตลอดจนเกิดแนวคิดในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนต่อไป ทั้งนี้ ชาวบ้านห้วยหกได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานตั้งแต่การสนุนแรงงาน ค่าขนส่งสินค้า และค่าวัสดุอุปกรณ์บางส่วน และยังได้มีการวางแผนการดูแลรักษา โดยทุกครัวเรือนในชุมชนยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณครัวเรือนละ 250 บาท/ปี เพื่อจัดสรรเป็นกองทุนเพื่อการดูแลและซ่อมบำรุงระบบน้ำ ให้โครงการฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน

นายณัฐพล ศรีวิชัย  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยหก กล่าวว่า “ถือเป็นความโชคดีของโรงเรียนที่มีผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และมูลนิธิศุภนิมิตฯ สนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดี จากการดำเนินโครงการฯ เด็กนักเรียนของเรา คือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงที่ได้มีน้ำเพื่อใช้ในโรงเรียนอย่างเพียงพอ และยังสามารถแบ่งปันไปสู่ชุมชน นอกจากนั้นนักเรียนของเรายังได้มีโอกาสเรียนรู้และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำที่ได้มาจากการมีป่าไม้ในชุมชน”  

จากการดำเนินโครงการฯ ซึ่งได้รับการอุปการะจากผู้บริจาคและผู้สนับสนุน ตอนนี้เด็กๆ นักเรียนในโรงเรียนบ้านห้วยหก กว่า 100 คน และชาวบ้านกว่า 700 คน มีความสุขและสุขภาพที่ดีจากการมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นเด็ก และทุกคนในชุมชน ยังได้รับการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญ หวงแหน และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นต้นทุนของน้ำสะอาด เพื่อให้คงอยู่และหล่อเลี้ยงชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เรามีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และชุมชนในพื้นที่ห่างไกลและยากลำบาก สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะให้มีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั้งยืน โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา มีเด็ก ครอบครัว และชุมชน จำนวนกว่า 31,200 คน ได้เข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภค ผ่านการดำเนินการปรับปรุงระบบน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลในโรงเรียนขนาดเล็ก การแก้ไขปัญหาแห่งน้ำอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Advocacy Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานบรรเทาทุกข์ งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ประชากรข้ามชาติ ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

ปักธงยุติการตีตรา ยุติวัณโรคและเอดส์ที่ จ.ระนอง

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยผนึกกำลังกับภาครัฐ มุ่งหน้าเผชิญความท้าทายเพื่อยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ในกลุ่มประชากรหลักในจังหวัดระนอง
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า