มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมขับเคลื่อนงานมหกรรมเด็กและสตรีส่งเสียง ครั้งที่ 4

ร่วม "ยุติความรุนแรง ขอพื้นที่ปลอดภัย" เครือข่ายสิทธิเด็กล้านนา ภาคเหนือ

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย พื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาฯ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้เข้าร่วมงาน “ยุติความรุนแรง ขอพื้นที่ปลอดภัย” มหกรรมเด็กและสตรีส่งเสียง ครั้งที่ 4 จัดขึ้น ณ ห้องประชุมเชียงแสน โรงแรมดวงตะวัน และบริเวณข่วงประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและสตรี พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของกลุ่มเปราะบางในสังคม 

งานมหกรรมครั้งนี้ประกอบด้วยเวทีเสวนาโต๊ะกลมในประเด็นสำคัญ เช่น การลงโทษเด็กทางกาย ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว สิทธิวัยรุ่นด้านอนามัยเจริญพันธุ์ การคุกคามทางเพศ การขจัดความรุนแรงจากภัยออนไลน์ สิทธิเด็กกับสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงการปกป้องสิทธิเด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานต่างชาติ   

หนึ่งในไฮไลต์ของงานครั้งนี้คือการนำเสนอความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดย นางสาวพรเจริญ หรือ น้องฟ้า ผู้นำเยาวชนจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ จังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่อสุขภาพเด็ก เช่น ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษทางอากาศ และโรคทางเดินอาหารจากน้ำที่ไม่สะอาด 

เธอเล่าถึงกิจกรรมที่เธอและกลุ่มเยาวชนในชุมชนร่วมกันรณรงค์ เช่น การลดการเผาป่า การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาการเผา รวมถึงการส่งเสริมการปลูกต้นกาแฟเพื่อทดแทนการตัดไม้ทำลายป่า “เรายังให้ความรู้เยาวชนเกี่ยวกับการผลิตสื่อรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในชุมชน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว” น้องฟ้า กล่าว 

ทางด้าน คุณรัตนธิดา ประวัง ผู้จัดการโปรแกรมงานวิชาการด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนของมูลนิธิศุภนิมิตฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยของเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง สิ่งสำคัญคือการเสริมสร้างทักษะให้เด็กสามารถปรับตัวรับมือกับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม รวมถึงการบูรณาการความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในอนาคต” 

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเด็กให้มีบทบาทในการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการต่าง ๆ พร้อมส่งเสริมให้เสียงของเยาวชนได้รับการรับฟังในระดับชุมชน จังหวัด และระดับชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

“อยากให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศมีผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก และในฐานะผู้ใหญ่ที่มีบทบาทในการพิทักษ์สิทธิเด็ก เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง”คุณรัตนธิดา กล่าว 

น้องฟ้า กล่าวด้วยความหวังว่า เด็กและเยาวชนจะได้รับโอกาสในการแสดงออกเรื่องสิ่งแวดล้อมในอนาคต พร้อมย้ำว่า “สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยและยั่งยืนของเด็กๆ”

นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเดินรณรงค์ กิจกรรมแสดงความสามารถของเยาวชน นิทรรศการ และการอ่านแถลงการณ์ 5 ประเด็นเพื่อสิทธิเด็กและสตรีต่อสาธารณะ ณ ข่วงประตูท่าแพ ก่อนสิ้นสุดกิจกรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า