ด้วยการดูแลและการศึกษาที่เหมาะสม เด็กๆ จะเติบโตเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงชุมชน ปกป้องตนเองจากความรุนแรง และมีประสบการณ์ชีวิตที่อยู่ดีมีสุข
มูลนิธิศุภนิมิตฯ มุ่งมั่นอุทิศตนดำเนินงานซึ่งสอดคล้องกับหลักจริยธรรม กฏหมาย คุณธรรมหลัก และพันธกิจของเรา
นโยบายปกป้องคุ้มครองเด็กและผู้ใหญ่ของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
ช่วยเหลือผู้เปราะบางยากไร้ให้หลุดพ้นจากความยากจนตั้งแต่ปี 1972
ด้วยการดูแลและการศึกษาที่เหมาะสม เด็กๆ จะเติบโตเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงชุมชน ปกป้องตนเองจากความรุนแรง และมีประสบการณ์ชีวิตที่อยู่ดีมีสุข
เพื่อมอบชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและเสริมสร้างพัฒนาด้านต่างๆ เป็นพลังที่สำคัญให้กับเยาวชนของชาติ
การทำงานของเราเพื่อช่วยเหลือเยาวชนเปราะบางยากไร้ที่สุด
วิธีที่เราช่วยครอบครัวยากจนให้มีรายได้ที่ยั่งยืนเพื่อเด็กได้เติบโตสมวัย
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด1. คำนำ
การใช้ทรัพยากรหรืออำนาจในทางที่ผิดจะส่งผลกระทบถึงเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กร สำหรับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย การมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นในลักษณะใดๆ จะส่งผลเสียต่อองค์กรทั้งด้านจริยธรรม ภาพพจน์ ความเชื่อมั่นของผู้บริจาค หน่วยงานร่วมพันธกิจ รวมถึง เด็ก ครอบครัว และ ชุมชน ทำให้มูลนิธิฯ ไม่เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ มูลนิธิฯ จึงได้จัดทำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อเป็นหลักปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานที่มูลนิธิฯ จะไม่สนับสนุนกิจการ กลุ่มบุคคล หรือ บุคคลที่มีส่วนร่วมกับการแสวงหาผลประโยชน์อันไม่พึงได้รับ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
2. คำจำกัดความ
คอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง “การใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายในทางมิชอบเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น” รวมถึงการกระทำอื่นๆ เช่น สินบน ฉ้อฉล รีดไถ สมรู้ร่วมคิด ฟอกเงิน การเสนอหรือรับของขวัญ เงินกู้ ค่าตอบแทน รางวัล หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลใดๆ เป็นอามิสสินจ้างเพื่อกระทำการอันไม่สุจริต ผิดกฎหมาย หรือทำลายความน่าเชื่อถือของการดำเนินงานขององค์กร ผลประโยชน์นี้หมายความรวมถึงเงินสด ทรัพย์สิน หรือสิ่งของ เช่น สินค้า ของขวัญ การไปตากอากาศ หรือการบริการพิเศษส่วนบุคคล ที่ให้หรือได้รับมาเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมควร ในกรณีที่เป็นของขวัญมูลค่าน้อยให้พิจารณาตามนโยบายว่าด้วยการขัดผลประโยชน์ขององค์กร (Conflict of Interest)
บุคลากรของมูลนิธิฯ หมายถึง กรรมการอำนวยการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และอาสาสมัครของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
บุคคลที่สาม หมายถึง ที่ปรึกษา ผู้ค้า หุ้นส่วน ที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
3. นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
3.1 ห้ามบุคลากรของมูลนิธิฯ หรือ บุคคลที่สาม กระทำการคอร์รัปชั่น
3.2 ห้ามบุคลากรของมูลนิธิฯ หรือ บุคคลที่สามที่ปฏิบัติการในนามของมูลนิธิฯ รวมถึงดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิฯ เสนอให้สินบนหรือให้สินบน หรือเรียกร้องสินบนหรือรับสินบน ในการดำเนินงานต่างๆ ของมูลนิธิฯ
3.3 มูลนิธิฯ จะทำการประเมินความเสี่ยงการคอร์รัปชั่น เพื่อให้บุคลากรของมูลนิธิฯ ทราบถึงความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่น และสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่จะไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่น
3.4 มูลนิธิฯ จะดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า บุคลากรของมูลนิธิฯ และบุคคลที่สาม ทราบถึงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
3.5 มูลนิธิฯ จะดำเนินนโยบาย “การให้ข้อมูลกรณีพบการประพฤติมิชอบ (Whistleblower Policy)” และกำหนดช่องทางเพื่อให้บุคลากรของมูลนิธิฯ และบุคคลที่สาม มีกลไกในการรายงานการประพฤติมิชอบรวมถึงคอร์รัปชั่น
3.6 มูลนิธิฯ จะพัฒนาแผนรับมือคอร์รัปชั่น เพื่อกำหนดว่าเหตุการณ์ต่างๆจะได้รับการตรวจสอบ รายงาน และสรุปผล
3.7 พนักงานของมูลนิธิฯ ที่กระทำการดังต่อไปนี้จะต้องถูกดำเนินการทางวินัย ซึ่งอาจถึงขั้นสูงสุดคือการเลิกจ้างและการดำเนินการทางกฎหมาย
กรรมการอำนวยการที่มิได้ดำเนินการตามนโยบายนี้จะถูกถอดถอน
บุคคลที่สามที่มิได้ดำเนินการตามนโยบายนี้จะถูกยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง และ มูลนิธิฯ อาจดำเนินการเรียกค่าชดใช้ ฟ้องร้อง หรือ ดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
3.8 กำหนดให้มีการรายงานเหตุการณ์คอร์รัปชั่น รวมถึงเหตุการณ์ที่สงสัยว่าเกิดคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการตรวจสอบเหตุการณ์นั้นๆอย่างเหมาะสม ดังนี้