เราทุกคนคือ ‘ผู้พิทักษ์สิทธิเด็ก’

ตอกย้ำบทบาท ‘ผู้พิทักษ์สิทธิเด็ก’ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ทุกคน แสดงออกและตอบสนองต่อสิทธิเด็กอย่างเหมาะสม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘World Children’s Day – สร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการลงทุนในเด็กและเยาวชน’ สร้างความตระหนักถึงบทบาทการพิทักษ์สิทธิเด็กให้กับเจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ทุกคน

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เตรียมพร้อมต้อนรับ วันเด็กสากล (World Children’s Day) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า วันสิทธิเด็กสากล (Universal Children’s Day) ซึ่งองค์การสหประชาชาติกำหนดให้มีขึ้นทุกวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิของเด็ก และเป็นการย้ำเตือนถึงวันที่สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อปี 2497 และการรับรอง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เพื่อคุ้มครองครองสิทธิของเด็กทุกคนในทุกหนแห่ง เมื่อปี 2532 ด้วย

สำหรับ ประเทศไทยได้มีการลงนามภาคยานุวัติรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 ให้คำมั่นสัญญากับเด็กทุกคนว่าเราทุกคนจะให้ความคุ้มครองดูแลเด็กอย่างเต็มความสามารถและเท่าเทียมกัน

ในฐานะองค์กรคริสเตียนเพื่อการพัฒนาและสาธารณกุศลโดยมีเด็กเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน และมีพันธกิจที่สำคัญคือการมอบโอกาสและทำให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่พวกเขามี และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองวันเด็กสากล และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิเด็ก มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงได้จัด การอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘World Children’s Day – สร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการลงทุนในเด็กและเยาวชน’ โดยเป็นการอบรมที่เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกระดับทั่วประเทศจะต้องเข้าร่วม

“กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เราจะตอกย้ำบทบาทของเจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ทุกคน ทุกระดับ ซึ่งทุกคนต่างก็มีบทบาทเป็น ‘ผู้พิทักษ์สิทธิเด็ก’ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ จะต้องแสดงออกและตอบสนองต่อสิทธิเด็กได้อย่างเหมาะสม นั่นหมายถึงว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องเข้าใจว่าเด็กมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอด เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และเด็กมีสิทธิในการมีส่วนร่วม และในตอนท้ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ จะเป็นกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมร่วมระดมสมองของแต่ละส่วนงานเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของสิทธิเด็กและงานที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบอยู่ โดยมีคำถามสำคัญในการระดมสมองคือ งานของแต่ละส่วนงานมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิเด็กหรือไม่ และจะสามารถพัฒนางานในความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายได้อย่างไรเพื่อส่งเสริมสิทธิเด็ก” คุณอมรพจี อุปมัย Child Protection & Advocacy Advisor มูลนิธิศุภนิมิตฯ ฉายภาพรวมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

เพราะเด็กทุกคนในโลกนี้คือ ‘ผู้ทรงสิทธิ’ พวกเขาเกิดมาพร้อมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน (อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก) เราสามารถตอบได้อย่างเต็มเสียงหรือไม่ว่า ปัจจุบันเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่เด็กพึงมีนับตั้งแต่เกิด? และในฐานะผู้ใหญ่ สิ่งที่เราคิดเพื่อเด็ก สิ่งที่เราทำเพื่อพวกเขา เราคำนึงถึงบทบาทของเราในฐานะผู้ใหญ่ ‘ผู้พิทักษ์สิทธิเด็ก’ หรือไม่?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน ผู้หญิงและเด็ก พัฒนาชุมชน ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า