เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและต่อต้านการค้ามนุษย์ที่เข้มแข็งกว่า

กองต่อต้านการค้ามนุษย์ พม. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมหารือพัฒนาความร่วมมือเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากความเสี่ยงการค้ามนุษย์ สร้างความเข็มแข็งที่มากกว่าในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

เมื่อเดือนมกราคม 2025 คุณรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ เดินทางเข้าพบ คุณรัชพล มณีเหล็ก ผู้อำนวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะผู้บริหาร เพื่อประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

ตลอดระยะเวลา 50 ปีของมูลนิธิศุภนิมิตฯ เด็กคือหัวใจหลักสำคัญ โดยปัจจุบันมูลนิธิศุภนิมิตฯ ดำเนินการอยู่ใน 22 พื้นที่ดำเนินการ ใน 55 อำเภอ ครอบคลุม 35 จังหวัดทั่วประเทศไทย มีการทำงานกับอาสาสมัครกว่า 2,000 คนในชุมชน“การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการละเมิดและความเสี่ยงต่างๆ คือหนึ่งในพันธกิจหลักที่เราให้ความสำคัญ ความเสี่ยงจากการค้ามนุษย์ปัจจุบันมีรูปแบบการล่อลวง การละเมิดที่หลายหลาย และมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังมีการดำเนินงานโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย พ.ศ. 2560-2568 (USIAD Thailand CTIP) ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจากการหารือร่วมกับกองต่อต้านการค้ามนุษย์ในครั้งนี้ จะทำให้การดำเนินงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ และการดำเนินงานของภาครัฐ เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับเด็กรวมถึงทุกคนในชุมชน”คุณรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการดำเนินงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ และเป้าหมายสำคัญในการร่วมหารือในครั้งนี้

มูลนิธิศุภนิมิตฯ-กองต่อต้านการค้ามนุษย์ ประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย
มูลนิธิศุภนิมิตฯ-กองต่อต้านการค้ามนุษย์ ประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย
คุณรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตฯ ระหว่างการประชุมร่วมมูลนิธิศุภนิมิตฯ และกองต่อต้านการค้ามนุษย์

ในส่วนของ กองต่อต้านการค้ามนุษย์ พม. มีบทบาททั้งในด้านการป้องกันและการคุ้มครอง “เรามีแนวทางในการดำเนินงานสำคัญคือ Better Society, Free from Human Trafficking โดยมุ่งหวังให้เกิดการป้องกัน การเฝ้าสังเกต ระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากชุมชน โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการค้ามนุษย์ในเด็ก เด็กชายขอบ เด็กที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน เด็กที่เป็นผู้ติดตามของแรงงานข้ามชาติ เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่เชื่อมโยงถึงการค้ามนุษย์ได้” คุณรัชพล มณีเหล็ก ผู้อำนวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ กล่าว

“เรามีการสนับสนุนสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และสนับสนุนกลไกการส่งต่อข้ามชาติ” Mr. Harley (กลาง)
“Better Society, Free from Human Trafficking เรามุ่งหวังให้เกิดการป้องกัน การเฝ้าสังเกต ระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากชุมชน” ผอ.รัชพล

จากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ ก่อเกิดเป็นโอกาสที่จะร่วมพัฒนาความร่วมมือระหว่างกองต่อต้านการค้ามนุษย์ พม. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ เพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็กและการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะในเด็ก ทั้งเด็กในชุมชนเมือง เด็กชุมชนชนบท เด็กชายขอบ เด็กกลุ่มโยกย้ายถิ่นฐาน และเด็กที่เป็นผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ครอบคลุมทั้งงานด้านการป้องกัน อาทิ การพัฒนาชุดความรู้สำหรับสถานศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ภัยจากการค้ามนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และงานด้านการคุ้มครอง ซึ่งจะมีการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ พัฒนาเป็นต้นแบบกลไกการส่งต่อระหว่างชาติระดับจังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระหว่างชาติด้วย

เพราะปัจจุบันรูปแบบของ “การค้ามนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน” ความร่วมมือครั้งนี้คือจุดเริ่มต้นการสร้างความเข็มแข็งที่มากกว่าในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

20 ปี สึนามิ 2004 : บทเรียนแห่งความสูญเสียและความหวัง

จากรอยแผลในอดีตสู่การสร้างความพร้อมในอนาคต เรื่องราวของตะวัน ทรายอ่อน และบทบาทของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า