WVFT-logo_dark_rgb

Trash2Cash จุดไอเดีย สร้างนวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน (Trash2Cash) ปีที่ 2 โดย ‘Citi Foundation’ และ ‘มูลนิธิศุภนิมิตฯ’
โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน (Trash2Cash) ปีที่ 2 โดย ‘Citi Foundation’ และ ‘มูลนิธิศุภนิมิตฯ’

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) เดินหน้าจัด โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน (Trash2Cash) ปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 29 – 31 มกราคม 2567 เพื่อเปิดเวทีให้เยาวชนได้นำเสนอการถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการปีที่ 1 และเสริมศักยภาพด้านการออกแบบนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจะต่อยอดโครงการในปีที่ 2 ต่อไป  โดยกิจกรรมนี้มีกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมจากทั้ง 16 โรงเรียนจาก จ.สระแก้ว และ จ.จันทบุรี 

โดยทาง คุณวิลาภา หยูมุ่ย เจ้าหน้าที่ผู้เอื้อกระบวนการพัฒนาชุมชน โครงการพัฒนาฯ จ.สระแก้ว มูลนิธิศุภนิมิตฯ เปิดเผยว่า ในปีแรกเด็กๆ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในโรงเรียน บางโรงเรียนไม่เคยมีการคัดแยกขยะเลย เขาก็ได้ริเริ่มสร้างจุดคัดแยกขยะ ถ้าเป็นขวดน้ำก็นำไปจำหน่ายสร้างรายได้ บางโรงเรียนมีปัญหาถุงนมเยอะ ก็คิดนวัตกรรมทำเป็นพวงมาลัย พานพุ่ม โรงเรียนไหนมีใบไม้ร่วงหล่นเยอะก็นำมาทำปุ๋ยไว้ใส่แปลงผักของโรงเรียนแล้วนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายให้กับผู้ปกครอง

เพื่อเป็นการเติมไฟ จุดประกายไอเดียสุดสร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ ต่อยอดโครงการเพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สร้างสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน (Trash2Cash) ปีที่ 2 ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ชัชวาลย์  มากสินธ์ พร้อมด้วยคณะจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มากระตุกไอเดียให้เหล่านวัตกรรุ่นใหม่ ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ที่ช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม

การบรรยายของทางคณะอาจารย์เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกการคิด ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละโรงเรียน พร้อมเปิดประเด็นด้วยคำถามสะกิดต่อมสร้างสรรค์ เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะ… เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามบริบทของแต่ละโรงเรียน พร้อมยกตัวอย่างโครงการที่ทางคณะอาจารย์ทำสำเร็จประกอบการบรรยายให้เหล่านวัตกรเข้าใจมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปีนี้คือ เหล่าเยาวชนมุ่งเน้นการจัดการขยะที่มีอย่างเกลื่อนกลาดภายในโรงเรียนและชุมชน โดยมีการคิดค้นนวัตกรรมและไอเดียแปลกใหม่ให้เด็กๆ ในโรงเรียนหันมาใส่ใจในการคักแยกขยะ อาทิ สวนสนุกคัดแยกขยะ น้องๆ จาก จ.จันทบุรี ได้ไอเดียจากการชู๊ตบาสให้ลงห่วงมาเป็น ชู๊ตขยะให้ลงถัง ที่ทั้งสนุกและทำให้เด็กๆ อยากทิ้งขยะลงถังมากขึ้น ตามด้วย น้องๆ จาก จ. สระแก้ว ได้ริเริ่มสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างธนาคารขยะใบไม้เพื่อชุมชน โดยการบริจาคใบไม้จากคนในชุมชนเพื่อรับคะแนนสะสม ใบไม้ที่ได้รับบริจาคจะถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก โดยสามารถนำคะแนนสะสมมาแลกรับปุ๋ยหมักอินทรีย์กลับไปใช้ที่บ้าน

หนามยอก ต้องเอาหนามบ่ง อีกหนึ่งไอเดียจากน้องๆ ที่นำขยะมาทำเป็นถังขยะ โรงเรียนเรามีถังขยะน้อย ไม่เพียงพอและอยู่ไกล ทำให้เด็กๆ ทิ้งขยะไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณถังขยะมากขึ้น พวกหนูจึงนำขวดน้ำที่เด็กๆ นำมาแลกขนม ทำเป็นถังขยะวางตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน น้องพริ้ง ชลิญา และน้องญา ปัญญา  จ.สระแก้ว เล่าให้ฟังถึงไอเดียการสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้

และที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ถังขยะ 3 ภาษา โดย น้องพงษ์ บัญชา และ น้องบี๋ ชลหทัยจ.สระแก้ว เล่าว่า โรงเรียนของเราติดชายแดน มีนักเรียนกัมพูชามากกว่านักเรียนไทย ถังขยะ 3 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ และกัมพูชานี้ จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจจุดทิ้งขยะที่ถูกประเภท มีวินัยในการทิ้งขยะ โรงเรียนสะอาดขึ้น” ยิ่งไปกว่านั้นได้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ และเป็นการสร้างความตระหนักให้เด็กๆ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

ด้าน คุณวันวิสาข์ โคมินทร์ Corporate Affairs and Citizenship ผู้แทนจาก Citi Foundation ย้ำข้อคิด แนะแนวทางให้กับเด็กๆ เพิ่มเติมว่า “อยากให้เน้นตั้งแต่เริ่มว่าขยะมีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วช่วยลดตั้งแต่ตรงนั้น วันนี้เราเริ่มต้นจากในโรงเรียน แต่ตอนที่ออกไปในชุมชน กลับบ้านเรามีการแยกขยะอย่างที่เราทำกันหรือเปล่า นอกจากสร้างที่โรงเรียนแล้ว ที่บ้านเองหรือว่าญาติพี่น้องคนในชุมชน ที่เราสามารถแนะนำเขา ให้ความรู้เขา จะช่วยต่อยอดให้มันยั่งยืนและประสบความสำเร็จมากขึ้น

แสงประกายจากไอเดียนวัตกรรมของเยาวชนเหล่านี้ คือพลังสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของโลกและเป็นมรดกที่จะส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง การสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมของเยาวชนในครั้งนี้จะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกทำให้เขาเห็นถึงความสำคัญและปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง อยากให้น้องๆ ทุกคน เป็นกระบอกเสียง เป็นตัวแทน เป็นผู้นำของชุมชนตัวเอง ในการที่จะช่วยรักษาโลกใบนี้ต่อไป” คุณวันวิสาข์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Advocacy Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานบรรเทาทุกข์ งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ประชากรข้ามชาติ ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า