กรณีศึกษา การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประสานงานและความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงราย

โดย :

มูลนิธิศุภนิมิตฯ

รายงานกรณีศึกษา การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประสานงานและความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงราย จัดทำขึ้นโดย มูลนิธิศุภนิมิตฯ ด้วยความร่วมมือกับองค์กรสมาชิกคณะกรรมการประสานงานองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อคุ้มครองเด็ก สตรี และต่อต้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดเชียงราย (คปค.) ที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการคุ้มครองเด็ก สตรี และการต่อต้านการค้ามนุษย์

ทั้งนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อคุ้มครองเด็ก สตรี และต่อต้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดเชียงราย (คปค.) เกิดจากการรวมตัวขององค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการต่อรองในการผลักดันนโยบายและข้อเสนอแนะให้เกิดการปรับปรุงเพื่อการป้องกันและช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คปค. ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดเชียงรายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน

รายงานกรณีศึกษาฉบับนี้บอกเล่าถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน ข้อท้าทาย และข้อเสนอแนะเพื่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประสานงานและความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงราย โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประสานงานระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐเพื่อการป้องกัน การคัดแยก และการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเครือข่าย ดังนี้

  • พัฒนากลไกการดำเนินงานภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างองค์กรสมาชิก
  • ยกระดับการจัดตั้งเป็นสมาคมอย่างถูกกฎหมาย เพื่อขยายขีดความสามารถในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก

เพราะการต่อต้านการค้ามนุษย์ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชน เพื่อบรรลุ 4 ยุทธศาสตร์หลักตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ด้านการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และด้านการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลการค้ามนุษย์ รายงานกรณีศึกษาฉบับนี้จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำหรับหน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายประชาชนในการขับเคลื่อนงานด้านการคุ้มครองเด็ก สตรี และต่อต้านการค้ามนุษย์ได้ต่อไป

ปีที่เผยแพร่ : 2024

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า