คู่มือความรู้ เรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็กและผู้ใหญ่ และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในสถานการณ์ภัยพิบัติ

โดย :

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

เด็กคือกลุ่มที่ควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษในทุกบริบท โดยเฉพาะในสถานการณ์ภัยพิบัติ

ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) ซึ่งประเทศไทยให้การรับรองและภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เด็กทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีภูมิหลังหรือสถานะอย่างไร อนุสัญญานี้ยังเป็นกรอบทางกฎหมายสากลที่ใช้เป็นแนวทางหลักในงานด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติหรือภัยจากน้ำมือมนุษย์ เด็กคือหนึ่งในกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ซึ่งข้อกังวลที่พบบ่อยหลังเกิดวิกฤต ได้แก่ การที่เด็กกลุ่มเปราะบางเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐาน ความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดหรือแสวงหาประโยชน์ การค้ามนุษย์ การถูกแยกจากครอบครัวและส่งไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ การต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ตลอดจนการขาดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม 

นอกจากนี้ ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-Based Violence – GBV) ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ภาคประชาสังคมไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตที่ช่องว่างในการเข้าถึงบริการ และความเหลื่อมล้ำทางอำนาจจะยิ่งขยายตัว ความรุนแรงลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นหญิง ชาย หรือผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองน้อยหรือถูกกีดกันจากระบบบริการสาธารณะ ความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อจึงสูงขึ้นอย่างมาก 

เราทุกคนจึงมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิเด็กและกลุ่มเปราะบางจากความเสี่ยงเหล่านี้ ทั้งในเชิงป้องกัน เยียวยา และเสริมสร้างระบบที่ยั่งยืนและเป็นธรรม เพื่อให้แน่ใจว่า “เด็ก” จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ 

ปีที่เผยแพร่ : 2025

คู่มือความรู้ เรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็กและผู้ใหญ่ และความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในสถานการณ์ภัยพิบัติ

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า