แสงแห่งความหวังหลังวิกฤติ ชีวิตใหม่ของ “อะเพียว” หลังอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่

โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ อะเพียว และครอบครัวต้องอพยพจากบ้านเกิดในเมืองและบาดอ ประเทศเมียนมา มายังอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประเทศไทย ด้วยความหวังในการมีชีวิตที่ดีกว่า เธอและสามีหวังเพียงแค่มีงานทำ มีรายได้พอเลี้ยงดูลูกน้อยสองคน วัย 6 และ 3 ขวบ แม้รายได้จากการทำงานรับจ้างรายวัน ทั้งงานก่อสร้างและเกษตรกรรมของสามีจะไม่ได้มากนัก แต่พวกเขาก็มีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียง

“มาอยู่ประเทศไทยได้ 2 ปีแล้วค่ะ อพยพตามพี่สาวมา ตอนนี้หนูก็เป็นแม่บ้าน ดูแลลูกสองคน สามีเป็นคนออกไปทำงาน หากได้งานก่อสร้างก็มีรายได้วันละ 300 บาท แต่ถ้ารับจ้างทำเกษตรกรรม รายได้จะลดลงเหลือวันละ 150 บาท แม้จะไม่มาก แต่ถ้าประหยัดเราก็พออยู่ได้ และยังดีกว่าอยู่แบบไม่มีงานทำที่บ้าน” อะเพียว เล่าถึงชีวิตของเธอในเมืองไทย

อย่างไรก็ตาม ชีวิตที่เริ่มลงตัวกลับต้องพลิกผันอย่างไม่คาดคิด เมื่อปลายปี 2024 พายุไต้ฝุ่นยางิที่พาดผ่านประเทศไทย ก่อให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ อำเภอแม่สอด ซึ่งตั้งอยู่ติดแม่น้ำเมย ก็ไม่อาจรอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้

นายสิงห์คำ ยาหมุด ผู้ใหญ่บ้านห้วยแม่หม้าย อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า “ตอนนั้นน้ำมาเร็วมากครับ ประมาณบ่ายสองโมง น้ำในแม่น้ำเริ่มสูงขึ้น ตอนแรกเราคิดว่าน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเวลาประมาณสองทุ่ม ผมเห็นว่าสถานการณ์วิกฤติแล้ว จึงประสานขอความช่วยเหลือจากทหาร นำเรือเข้าไปช่วยชาวบ้านที่ติดอยู่ มีทั้งหมด 27 คน หากไม่ได้รับความช่วยเหลือทันเวลา อาจมีผู้เสียชีวิตครับ”

มูลนิธิศุภนิมิตฯ-กองต่อต้านการค้ามนุษย์ ประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย
นายสิงห์คำ ยาหมุด ผู้ใหญ่บ้านห้วยแม่หม้าย จ.ตาก
นางอะเพียว และลูกชาย ถ่ายรูปกับบ้านที่พักอาศัยในประเทศไทย

ครอบครัวของอะเพียวเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยครั้งนั้น เธอเล่าว่า “ตอนน้ำท่วม เราไม่เหลืออะไรเลยค่ะ ไม่ทันได้เตรียมตัว ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ที่นอน ถูกน้ำพัดหายไปหมด บ้านอยู่ไม่ได้ ต้องไปอาศัยอยู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน งานรับจ้างก็ไม่มี รายได้ก็ไม่มี ลำบากมากค่ะ”

ในช่วงเวลาที่มืดมน มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมภาคเหนือ ได้มอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน และอุปกรณ์เครื่องนอน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมภาคเหนือ ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
ชาวบ้านต่างมีรอยยิ้ม ความสุข ความหวัง จากการได้รับความช่วยเหลือในครั้งนี้

“ดีใจมากค่ะที่ได้รับความช่วยเหลือ ของที่ได้รับมีประโยชน์มากกับครอบครัวเราค่ะ” อะเพียว กล่าวด้วยรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความหวัง

ขณะที่ผู้ใหญ่บ้านสิงห์คำกล่าว “ผมขอขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านในยามทุกข์ยากเช่นนี้ครับ ผมดีใจแทนชาวบ้านจริงๆ ครับ”

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งในการดำเนินโครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ และผู้สนับสนุน ได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ความช่วยเหลือที่มอบให้ ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ แต่ยังเป็นแสงแห่งความหวัง กำลังใจ และรอยยิ้มให้กับผู้ประสบภัย ให้พวกเขาสามารถก้าวเดินต่อไปบนเส้นทางของชีวิตได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก ความเชื่อและการพัฒนา งานรณรงค์เพื่อเด็ก จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เด็กไร้รัฐ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

‘สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ’ ปัจจัยจำเป็นในการยุติวัณโรคและเอดส์

มูลนิธิศุภนิมิติฯ และมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย (FAIR) ผนึกกำลังจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สิทธิมนุษยชน เพศภาวะ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ความรอบรู้ทางด้านกฎหมายสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ
อ่านต่อ »

หยุดตีตรา ปกป้องสิทธิ ร่วมยุติวัณโรคและเอดส์

ความร่วมมือหลายภาคส่วนเพื่อขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยวัณโรคและผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีในภาคธุรกิจแปรรูปสัตว์น้ำและภาคบริการ
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า